โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อย (Decent Housing for Low-Income Program) คือ โครงการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินให้ได้รับโอกาสในการมีที่อยู่อาศัยที่น่าอยู่ผ่านการประสานความช่วยเหลือ จากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างซ่อมแซมและฟื้นฟูบ้านโดยเจ้าของบ้านจะต้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ปลูกสร้าง ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือดังกล่าว มิได้เป็นการให้เปล่าแต่เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านผู้ได้รับประโยชน์บริจาค คืนตามกำลัง เพื่อสมทบเป็นกองทุน หมุนเวียน ร่วมส่งต่อโอกาสในการมีบ้านให้ครอบครัวอื่นต่อไป

โครงการปกติ ให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้อย่างไร? เรามีเกณฑ์ในการคัดเลือกครอบครัวดังนี้

ความจำเป็นด้านที่อยู่อาศัย

  • เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
  • มีรายได้รวมกันไม่เกิน 25,000 บาท ต่อเดือนโดยเฉลี่ย

การยินดีให้ความร่วมมือ

  • ผู้เข้าร่วมโครงการต้องตกลงร่วมลงแรงด้านแรงงานในการสร้างที่อยู่อาศัยของตนไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง
  • ผู้เข้าร่วมโครงการต้องตกลงที่จะอยู่อาศัยอย่างถาวร ในที่อยู่อาศัยนั้นเมื่อสร้างเสร็จ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการต้องตกลงรับแบบบ้านที่อยู่อาศัยที่ทางมูลนิธิฯ จัดทำให้
  • ผู้เข้าร่วมโครงการและครอบครัวต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
  • ไม่เคยได้รับการช่วยด้านการสร้างที่อยู่อาศัยจากหน่วยงานอื่น
  • ต้องได้รับการรับรองจากบุคคลที่เป็นที่นับถือในชุมชนนั้นๆ
  • ต้องไม่เป็นเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือติดสุราเรื้อรัง
  • Home partners will be selected with nondiscriminatory policy regardless race, tribe, sex, political or religious background

เงื่อนไขในการเป็นเจ้าของบ้าน

  • ต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิครอบครองที่ดินตามกฎหมาย หรือที่ดินผืนนั้นสามารถออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรืออยู่ในระหว่างดำเนินการเช่าซื้อที่ดินต้องชำระค่าที่ดินไปแล้วไม่ต่ำกว่า 80% ของราคา
  • หากเป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างบ้านในที่ดินของพ่อ แม่ ญาติพี่น้องทางสายเลือดหรือที่ดินของวัด จะต้องได้รับการยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านในที่ดินผืนนั้นได้เป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป โดยทำลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของทีดินผืนนั้นๆ พร้อมแนบบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านจากผู้ยินยอมด้วย
  • ในกรณีที่ใช้เอกสารสิทธิด้านอื่นที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน เช่น ภทบ. 5 หรือ สปก สามารถนำมายื่นเข้าสมัครโครงการได้ ทางมูลนิธิฯ ยินดีจะพิจารณาเป็นรายกรณีไป

เกณฑ์การพิจารณาที่สำคัญ

  • โครงสร้างของที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงหรือชำรุดทรุดโทรมหรือเทคโนโลยีของโครงสร้างไม่เหมาะสม
  • ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ
  • ที่อยู่อาศัยปัจจุบันมีคนอยู่อย่างหนาแน่นหรือแออัด
  • ขาดสาธารณูปโภคพื้นฐาน
  • แหล่งน้ำหรือสุขภัณฑ์ขาดความอนามัย
  • มีปัญหาสุขภาพหรืออยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย
  • ขาดแคลนหลักฐานด้านการเงิน
  • ขาดแคลนแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยของตนเองหรือสาธารณูปโภคพื้นฐาน
  • เป็นผู้ตกทุกข์ได้ยากหรือถูกละเลยในสังคม
  • เป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคม (เช่น หัวหน้าครอบครัวที่เป็นผู้หญิงหรือเด็ก ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ/ผู้พิการ/พ่อม่ายหรือแม่ม่าย ฯลฯ) 

หมายเหตุ ผู้สมัครโครงการอาจอยู่ในเงื่อนไขทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่ง